5 ขั้นตอนเตรียมตัวก่อนรีไฟแนนซ์บัตรเครดิต
-รวมหนี้ทั้งหมดที่คุณมีและหนี้บัตรเครดิตทุกใบ เพื่อให้เห็นจำนวนหนี้ทั้งหมด ซึ่งการกู้เงินยอดใหม่มาปิดยอดเดิม จะช่วยให้คุณค่อย ๆ ผ่อนหนี้ยอดใหม่กับดอกเบี้ยใหม่ที่น้อยลง -ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายอย่างละเอียด เพื่อช่วยให้คุณเห็นจำนวนเงินและความสามารถในการชำระหนี้ โดยใช้รายรับรายจ่ายย้อนหลัง 6 เดือนมาคำนวณและตรวจสอบ -การที่จะปิดหนี้ก้อนใหญ่กับเจ้าหนี้ก่อนกำหนดอาจมีค่าปรับ ซึ่งค่าปรับนี้จะระบุไว้ในสัญญา (กรณีการปิดหนี้ก่อนระยะเวลาที่กำหนด) แต่ถ้าไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาหรือพอจะเจรจาต่อรองได้ก็ควรลองทำดูก่อน -เมื่อคำนวณความสามารถในการผ่อนชำระของตัวเองต่อเดือนได้แล้ว ให้ลองปรึกษาเจ้าหนี้รายใหม่ หรือหาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบให้รอบคอบ -สรุปรายละเอียดทั้งหมดก่อนตัดสินใจ เช่น อัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ค่าปรับหากจ่ายล่าช้าเกินกว่าเวลาที่กำหนด และเลือกสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือ ///-////---
5 ไม่ ทำแล้วชีวิตดี๊ดี
-ไม่ใช้เงินเกินตัว : เรื่องนี้สำคัญเพราะการรู้ตัวเองว่ามีรายได้เท่าไหร่ และต้องใช้จ่ายเท่าไหร่ จะทำให้มีการบริหารจัดการเงินที่ดี ซึ่งปัญหาอันดับต้น ๆ ของการเป็นหนี้คือการใช้จ่ายเงินเกินตัว ไม่มีการวางแผนการใช้จ่ายที่ดี เมื่อเงินหมดก็ต้องไปหยิบยืมเงินจากคนอื่นเสมอ -ไม่อยากได้อยากมี : โยนทิ้งไปกับคำพูดที่ว่า “ของมันต้องมี” และให้ดูความสามารถทางการเงินของตัวเองเป็นหลัก ก่อนซื้อของสักชิ้นต้องคิดถึงความคุ้มค่าและความจำเป็นในการใช้งาน โดยพึงพอใจในสิ่งที่ตัวเองมี -ไม่เล่นการพนัน : การพนันไม่เคยทำให้ใครร่ำรวย คำนี้ถือได้ว่าเป็นความจริงอย่างมาก และจะดีแค่ไหนถ้าเปลี่ยนเงินที่จะเล่นการพนัน หรือเสี่ยงโชคต่าง ๆ มาหยอดกระปุก เพื่อเป็นเงินสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน -ไม่ลังเลที่จะเก็บออม : จัดสัดส่วนเงินที่จะใช้จ่าย และเก็บออมให้ชัดเจน แล้วทำให้เป็นนิสัยทุกเดือน เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ต้องใช้จ่ายเงินจะได้ไม่ต้องไปกู้ยืมเงินคนอื่นให้เป็นหนี้ -ไม่ปล่อยปละละเลย : ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายประจำเดือนให้ชัดเจน เพื่อสามารถตรวจสอบได้ว่านำเงินไปใช้จ่ายอะไรบ้าง โดยไม่ปล่อยปละละเลยการใช้เงินไปตามใจ ///-////---
จะผ่อนชำระปกติ หรือ จะพักชำระหนี้ ในช่วงวิกฤติโควิด 19 ดี ?
วันนี้คลินิกแก้หนี้ by SAM จะมายกตัวอย่างการคำนวณเงินให้ฟังว่าแบบไหนเหมาะกับคุณ ///-////---
คิดให้ดีก่อนจะเซ็นค้ำประกันใคร!!
คิดให้ดีก่อนทำ คำเตือนจากแอด !! ก่อนจะเซ็นค้ำประกันใครขอให้คิดไว้เสมอว่า ..ถ้าเขาไม่จ่ายหนี้ก้อนนั้นเราพร้อมจะรับภาระหนี้แทนหรือไม่ ? ถ้าคิดว่าไม่พร้อมรับภาระหนี้แทน จงอย่าค้ำประกันให้ใคร ///-////---
“สิทธิ์ของลูกหนี้ที่ควรรู้” ทั้งเรื่องข้อมูลดอกเบี้ย เอกสารสัญญา และการทวงหนี้จากเจ้าหนี้
สิทธิ์ของลูกหนี้ที่ควรรู้ข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ “สิทธิ์ของลูกหนี้ที่ควรรู้” ทั้งเรื่องข้อมูลดอกเบี้ย เอกสารสัญญา และการทวงหนี้จากเจ้าหนี้ ซึ่งต้องไม่เป็นการข่มขู่ ทำให้อับอาย หรือใช้คำพูดหยาบคาย แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเป็นหนี้แล้วก็ต้องใช้หนี้นะจ๊ะ -ลูกค้ามีสิทธิ์ที่จะได้รับข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจกู้ยืม และพนักงานต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องไม่บิดเบือน ไม่ว่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ย ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม ค่าปรับที่อาจเกิดขึ้น ข้อผูกพันตามสัญญา และสถาบันการเงินต้องนำเสนอข้อมูลเหล่านี้ตามช่องทางให้บริการต่าง ๆ เพื่อลูกค้าสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ อาทิ ช่องทางออนไลน์ สาขา หรือช่องทางลูกค้าสัมพันธ์ สิทธิ์ที่จะได้รับสัญญาการกู้ยืมเงินและใบเสร็จรับเงิน -การกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือ ลูกหนี้จะได้รับ “สัญญาการกู้ยืมเงิน” ที่เขียนไว้อย่างชัดเจนแบบตรงไปตรงมา เป็นสัญญาที่มีเนื้อหาตรงกัน 2 ฉบับ เพื่อให้ลูกหนี้ และเจ้าหนี้เก็บไว้เป็นหลักฐานคนละฉบับ ซึ่งในสัญญาจะต้องมีข้อมูลเหล่านี้ - ชื่อที่อยู่ของเรา (ลูกหนี้) กับสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือ (เจ้าหนี้) - วันที่ขอกู้เงิน
SAM โชว์ความสำเร็จการดำเนินงานในฐานะ AMC ภาครัฐ ช่วยลูกค้า NPL แก้หนี้สำเร็จแล้ว 55,000 ราย ขายทรัพย์ NPA นับหมื่นรายการหรือกว่า 50,000 ล้านบาท พร้อมช่วยลูกค้าเป็นหนี้เสียบัตร สมัครเข้าโครงการ คลินิกแก้หนี้แล้ว 68,000 บัญชี
นายธรัฐพร เตชะกิจขจร กรรมการผู้จัดการ บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.) หรือ SAM เปิดเผยผลการดำเนินงานและความสำเร็จ ณ เดือนตุลาคม 2564 สามารถเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ลูกค้า NPL ไปแล้วจำนวน 54,899 ราย คิดเป็นมูลค่าตามบัญชี 341,448 ล้านบาท และจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย NPA ได้ทั้งสิ้น 10,496 รายการ ราคาประเมินทรัพย์ 51,914 ล้านบาท ด้านการประมูลซื้อสินทรัพย์เพื่อเพิ่มขนาดพอร์ต SAM สามารถซื้อสินทรัพย์ได้ จำนวนรวมทั้งสิ้น 16,569 ราย มูลค่าตามบัญชี 113,621 ล้านบาท ขณะที่คลินิกแก้หนี้ มีจำนวนลูกค้าที่ผ่านคุณสมบัติและสมัครเข้าโครงการได้รวมทั้งสิ้น