เจ้าหนี้ ยึด/อายัด ทรัพย์สินอะไรได้บ้าง?
ลูกหนี้จำนวนมาก ไม่ทราบผลกระทบของการเป็นหนี้เสีย (NPL) หรือหนี้ค้างชำระเกินกว่า 90วัน ว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้น คือการสูญเสียความน่าเชื่อถือ เพราะเมื่อเจ้าหนี้ตรวจสอบประวัติจะทราบทันทีว่า ลูกหนี้รายนี้เคยมีประวัติค้างชำระหนี้เกินกว่า 90วัน จึงทำให้ลูกหนี้เสียโอกาสในการขอสินเชื่อ ที่หนักกว่านั้นคือ หากยังไม่มีการเจรจาแก้ไขหนี้ ย่อมจะถูกติดตามทวงถาม ถูกดำเนินคดี จนกระทั่งถูกพิพากษา และบังคับคดี ดังนั้นเรามาดูกันว่าในชั้นบังคับคดี เจ้าหนี้สามารถยึด หรืออายัดอะไรได้บ้าง และ ยึดหรืออายัดอะไรไม่ได้บ้าง 1.เจ้าหนี้ยึดอะไรได้บ้าง การยึดทรัพย์สิน หมายถึง การบังคับเอากับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อรับชำระหนี้ ให้บรรลุผลตามคำพิพากษา สิ่งที่เจ้าหนี้สามารถยึดได้ เช่น 1.บ้าน ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ ทั้งที่ติดจำนองหรือไม่ติดจำนอง 2.รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ และไม่ได้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ 3.ของมีค่า เครื่องประดับที่มีมูลค่า เพชร พลอย นาฬิกา สร้อยคอทองคำและของสะสมที่มีมูลค่ารวมเกิน100,000 บาท 4.ของใช้ส่วนตัว