หนีห่างหนี้นอกระบบ เพื่อชีวิตที่ดี
การวางแผนการเงิน เป้าหมายแรกที่ควรจะมี คือ เงินออมเผื่อฉุกเฉิน โดยตามปกติควรจะมี 6-12 เท่า ของค่าใช้จ่ายที่จำเป็นแต่ละเดือน พราะหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน อาจจะส่งผลทำให้การบริหารการเงินไม่เพียงพอและหาเงินมาใช้ให้เร็วที่สุดและง่ายที่สุด และหันไปพบกับเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบที่มีหลากหลายรูปแบบ เช่น คนใกล้ตัว ที่ทำงาน หรือเครือญาติของลูกหนี้ เจ้าหนี้คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำหรือไม่คิดดอกเบี้ยเลย หรือคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี ไม่มีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนและเงินกู้ไม่สูงมากนัก แต่ในกรณีเงินกู้สูงต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เช่น โฉนดที่ดิน รถยนต์ ทองคำ เป็นต้น นายทุนเงินกู้ในพื้นที่และนอกพื้นที่ เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยเงินกู้ตั้งแต่ร้อยละ 10-30 ต่อเดือน โดยจะมีทั้งในพื้นที่หรือนอกพื้นที่ ในกรณีที่กู้ยืมวงเงินไม่มากนัก อาจจะใช้บุคคลค้ำประกัน ซึ่งมักมีปัญหาในเรื่อง ดอกลอย คือชำระแต่ดอกเบี้ย และหากผิดนัดชำระหนี้ ก็จะถูกคิดดอกเบี้ยทบต้นทบดอก
วิถีการใช้เงินแบบรวยๆ ก่อหนี้โดยไม่รู้ตัว
ในชีวิตคนเราส่วนใหญ่ มีความต้องการความมั่งคั่ง ความดูดี ความหรูหรา และการได้รับการยอมรับในสังคม จึงทำให้หลายคนมีการใช้จ่ายแบบไม่ยั้ง และมีวิถีการใช้ชีวิตแบบรวยๆ จนกลายเป็นหนี้โดยไม่รู้ตัว แล้วคนกลุ่มนี้มีการใช้เงินกันอย่างไรมาดูกัน มีรายจ่ายมากกว่ารายได้ในแต่ละวัน มีค่าใช้จ่ายในแต่ละวันแบบใช้เงินเกินตัว โดยไม่ได้มีการวางแผนใช้เงินหรือไม่ทำบัญชีรับจ่าย ไม่ได้มีการคำนวณใช้เงินในแต่ละวันเท่าไหร่จึงจะพอรายรับในแต่ละเดือน เช่น ซื้อสินค้าที่ไม่ได้อยู่ในรายการบ่อยๆ ทำให้ไม่สามารถคุมรายจ่ายได้ การผ่อนสินค้า ที่มีทั้งความจำเป็น หรือไม่จำเป็น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจและเหตุผลในเวลานั้น เช่น การผ่อนโทรศัพท์รุ่นใหม่ เพราะอยากได้ ทั้งที่เครื่องเก่ายังใช้ได้แต่เหตุผลคือไม่ทันสมัยจึงตัดสินใจซื้อโดยวิธีการผ่อนบัตรเครดิต ในช่วงที่มีการจัดโปรโมชั่นดอกเบี้ยเงินผ่อน 0% พร้อมมีของแถม การนำเงินในอนาคตมาใช้ การกู้เงินหรือกดบัตรเงินสดออกมาจับจ่ายใช้สอย แบบไม่จำเป็น เช่น การท่องเที่ยวทั่วไทย หรือทั่วโลก เพื่อสร้างประสบการณ์ และต้องมาผ่อนชำระบัตรกดเงินสดที่เราได้นำไปใช้จ่าย ซื้อทรัพย์เพื่อสะสมเป็นสินทรัพย์
มีหนี้เมื่อพร้อมกันเถอะ
การขอสินเชื่อ ต้องมีความพร้อมในหลายๆด้าน เพื่อวางแผนการเงินที่ดี โดยไม่ให้งบประมาณบานปลาย และควรพิจารณาด้วยว่า สินเชื่อที่ขอกู้ยืมเงิน จะจ่ายเฉพาะเงินต้นและดอกเบี้ย ตามสัญญา เท่านั้น ส่วนค่าปรับ หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกเหนือจากการคำนวณแล้ว ก็ไม่ควรที่จะต้องจ่ายเพิ่ม การเตรียมความพร้อมที่ดี ก็สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ แล้วอะไรที่เราต้องพร้อมบ้าง มาดูกัน พร้อมศึกษาสัญญาและเงื่อนไขอย่างละเอียด ลูกหนี้ ควรศึกษาข้อมูลเบื้องต้น ของสินเชื่อแต่ละแห่ง แต่ละประเภท เพื่อให้ตรงกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่เรานำไปใช้และที่ต้องชำระ ควรสอบถามสิทธิและหน้าที่ของตนเอง ตามสัญญาและเงื่อนไขอย่างละเอียดก่อนการลงนาม 1. ต้องชำระเงินจำนวนเท่าไหร่ 2. ช่วงเวลาใด 3. อัตราดอกเบี้ยที่คิด 4. รายละเอียดสัญญา จะระบุชัดเจนว่า ลูกหนี้ จะได้รับการแจ้งเตือนหรือการดำเนินคดีในกรณีที่ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด และถ้ายังไม่แน่ใจ อาจหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือนำไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นโดยเฉพาะหรือผู้ให้คำปรึกษาทางการเงิน
มารู้จักประเภทสินเชื่อก่อนกู้ยืมเงิน
สินเชื่อ คือการที่เราขอยืมเงินจากสถาบันการเงิน เพื่อที่จะได้รับ วงเงินกู้หรือเงินก้อนมาบริหารเงินสำหรับใช้จ่าย โดยสถาบันการเงินจะพิจารณา อนุมัติสินเชื่อตามคุณสมบัติและความเหมาะสมของผู้ขอกู้ยืม เมื่อถึงกำหนดเวลาผู้กู้ต้องชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในอนาคตให้กับสถาบันการเงิน คราวนี้เรามารู้จักประเภทสินเชื่อก่อนที่จะกู้ยืมเงินกันดีกว่า ว่ามีอะไรบ้าง สินเชื่อไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน คือเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ที่ได้รับเงิน โดยไม่ต้องใช้ทรัพย์สินเป็นหลักประกัน โดยจะมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าสินเชื่อที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ได้แก่ 1.1 สินเชื่อส่วนบุคคล เป็นสินเชื่อที่ผู้กู้ยืม สามารถนำเงินที่ได้รับไปใช้ตามความต้องการของผู้ขอกู้ เช่น ซื้อของใช้เสื้อผ้า อาหาร จ่ายค่าที่พัก จ่ายค่ารักษาพยาบาล จ่ายค่าประกัน จ่ายเงินยามฉุกเฉิน 1.2 สินเชื่อบัตรเครดิต เป็นการใช้บัตรเครดิตในการซื้อสินค้าและบริการ โดยผู้ถือบัตรจะต้องชำระคืนตามรอบบิลหรือตามกำหนดระยะเวลาแต่ละบัตร พร้อมดอกเบี้ยหากชำระไม่เต็มจำนวน และหากชำระล่าช้ามีค่าปรับและค่าทวงถาม 1.3 สินเชื่อเพื่อการปรับปรุงบ้าน เป็นเงินกู้ที่ให้สำหรับการปรับปรุงหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัย เช่น การต่อเติมบ้าน การรีโนเวทบ้าน หรือการปรับปรุงโครงสร้างบ้าน 1.4 สินเชื่อเงินสด เป็นเงินกู้ที่ให้ในลักษณะเงินสดทันใจ เงินเพื่อฉุกเฉินหรือ
ผิดนัดชำระหนี้สักครั้ง จะเกิดอะไรบ้าง
หากใครที่ใช้เงินในอนาคตมาหมุนเวียน และเกิดหมุนเงินไม่ทัน รายจ่ายเพิ่มขึ้น จนเกิดเป็นหนี้สิน และเคยคิดบ้างไหมว่า หากเราผิดนัดชำระหนี้กับเจ้าหนี้ จะเกิดผลกระทบอะไรกับเราบ้าง และแก้ปัญหาหนี้เสียยังไงดี มาดูกัน เกิดค่าติดตามทวงถามหนี้ หากไม่ได้จ่ายหนี้ตามระยะเวลาที่กำหนด จะมีคนติดต่อเราทันที เพื่อโทรมาติดตามทวงถามหนี้ที่เรายังไม่ได้ชำระหนี้นั้น หากเรายังไม่ได้จ่ายอีก ก็จะโทรมาอีก โดยการโทรทุกครั้งของเจ้าหนี้นั้นไม่ได้โทรฟรีๆ แต่จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม คือค่าติดตามทวงถามหนี้ ซึ่งจะถูกทบไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีการชำระหนี้นั่นเอง เกิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระ โดยปกติ หนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลไม่มีดอกเบี้ย แต่ในกรณีที่มีการผิดนัดชำระหนี้ทั้งบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล จะมีดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายเพิ่มเติม เป็นค่าปรับที่ไม่ได้ชำระหนี้ในระยะเวลาที่กำหนด เกิดผลเสียต่อประวัติและเครดิตทางการเงินที่ไม่ดี หากเราไปทำธุรกรรมทางการเงินใด ๆ ตามปกติเจ้าหนี้จะทำการตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียด ซึ่งต้องเป็นไปตามเงื่อนไขการพิจารณาตามที่กำหนดไว้ เกิดการถูกฟ้องร้อง หากเรามีการค้างชำระหนี้เป็นระยะเวลานานเกินกว่าเวลาที่กำหนด เจ้าหนี้จะทำเรื่องฟ้องร้องคดีแพ่ง
ผลเสียของการหยุดจ่ายหนี้ เป็นทุกข์กว่าที่คิด
หนี้ เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ ไม่อยากเป็น แต่อาจจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะหนี้ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างความมั่นคง และบางครั้งการเป็นหนี้ ยังช่วยแก้ไขปัญหาให้กับชีวิต ตามเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นกับแต่ละคน ดังนั้นเมื่อตกลงหรือพร้อม จะเป็นหนี้แล้วก็ต้องวางแผนชำระหนี้คืนตามเงื่อนไขที่ให้ไว้กับเจ้าหนี้ แต่หากไม่วางแผนเพื่อเตรียมความพร้อม จนเป็นเหตุให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ สุดท้ายต้องหยุดจ่ายหนี้กลายเป็นหนี้ค้างชำระ มาดูกันว่าผลที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไรบ้าง ผลกระทบด้านการเงิน มีค่าใช้จ่ายจากอัตราดอกเบี้ยผิดนัดเพิ่มขึ้น โดยการคิดดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดหรือผิดเงื่อนไข ตามปกติขึ้นอยู่กับสินเชื่อแต่ละประเภท โดยอัตราดอกเบี้ยจะมีความแตกต่างกัน มีค่าใช้จ่ายในการติดตามหนี้เพิ่ม ในกรณีมีหนี้ค้างชำระสะสมมากกว่า 1,000 บาทขึ้นไป กรณีค้างจ่าย 1 งวด/รอบ การชำระหนี้ มีค่าทวงถามหนี้ 50 บาทต่อรอบ แต่หากค้างจ่าย 2 งวดขึ้นไป มีค่าใช้จ่ายติดตามหนี้ 100 บาทต่อรอบ และในบางกรณีเจ้าหนี้อาจจะมีค่าใช้จ่ายในการลงพื้นที่ 400 บาทต่อรอบ
ปลดหนี้แบบไหน เพื่อเกษียณอายุได้เร็วที่สุด
หากเราคิดจะวางแผนเกษียณ ควรมีการเตรียมตัวที่ดี โดยอาจจะมีการสำรวจตัวเองในการเก็บเงินที่มีก่อน ว่ามีมากพอสำหรับตัวเองและมองไปถึงครอบครัวของเรา โดยควรพิจารณาและควรเคลียร์หนี้สินให้หมดก่อนเกษียณ เพื่อให้มีชีวิตสบาย มีความสุขในยามหลังเกษียณ พร้อมมีเงินเก็บหลังเกษียณที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต โดยเราควรต้องมาสำรวจตัวเองอีกทีว่ามีหนี้สินไหมหรือมีหนี้สินแบบไหน เชิญตามมาดูกัน หนี้นอกระบบ เป็นหนี้ไม่มีหลักประกัน ดอกเบี้ยสูง หรือดอกลอย ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ทั้งจำนวน แต่สามารถชำระได้เพียงดอกเบี้ย ทำให้เงินที่ต้องจ่ายทั้งต้นทั้งดอกจนยอดหนี้สูงมาก ภาระเพิ่มขึ้น และทบยาวนานขึ้นเรื่อยๆ หนี้สินเพิ่มสูงขึ้น หากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ส่งผลให้เสียเงินสูง และไม่มีเหลือเงินเก็บไว้ในยามเกษียณ หนี้ก้อนนี้ควรปิดหรือโป๊ะให้เร็วที่สุด หนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด เป็นหนี้ระยะสั้น วงเงินที่ใช้อาจจะไม่สูงมากนัก ระยะเวลาในการชำระไม่นานมากนัก แต่ถ้าหากชำระล่าช้า จ่ายขั้นต่ำ หรือไม่สามารถชำระคืนได้ตามเวลาที่กำหนด สิ่งที่ตามมา คือ ค่าติดตามทวงถาม ค่าธรรมเนียม ค่าภาษี และดอกเบี้ยก็จะปรับเพิ่มสูงขึ้น
ชีวิตดีด้วยการวางแผนการเงิน
คนเราเมื่อเกิดมาส่วนใหญ่ ทุกคนมีหน้าที่ในการทำงานและหาเงิน เพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัว ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีรายได้ เป็นแบบประจำวัน ประจำเดือน ประจำปี โดยเมื่อได้รับเงิน หรือมีรายได้เข้ามา ตามความเหมาะสม เราควรมีการพิจารณา และมีการวางแผนชีวิต เพื่อวางรากฐานให้มีความมั่นคง หลังการเกษียณ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ควรมีการวางแผนการเงินตั้งแต่มีรายได้ก้อนแรกเลย ควรทำตั้งแต่วันนี้หรือเริ่มตั้งแต่เยาว์วัยด้วยการเก็บออมเงินค่าขนมให้เป็นนิสัย และเมื่อทำงานก็ทำต่อไป เพื่อจะได้มีเงินเก็บสะสมเป็นระยะเวลานานเพิ่มพูนให้เกิดความมั่งคั่ง ด้วยพลังของดอกเบี้ยทบต้น ถ้าเริ่มวางแผนการเงินล่าช้า อาจจะทำให้การเงินไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ควรเริ่มตั้งแต่วันนี้ ไม่จำเป็นต้องรอให้แก่แล้วหรืออายุมากแล้วค่อยเก็บเงิน โดยเริมจากการมีเงินออมเผื่อฉุกเฉิน 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ให้เกิดความสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เป็นการออมแบบตัดเป็นรายเดือน หรือทำประกันเงินออมระยะยาวประมาณ 10 ปีขึ้นไป เพื่อลดหย่อนภาษี และมีเงินเก็บออมระยะยาวต่อไป ควรมีการคำนวณค่าใช้จ่ายยามเกษียณ หากเราอายุ 30 ปี
ชีวิตดี ด้วยวิธีรวมหนี้บัตร
หลายคน กำลังเผชิญกับภาระหนี้บัตรเครดิต การหมุนเงินไม่ทัน ชำระเงินไม่ตรงเวลา ชำระชั้นต่ำ หรือใช้บัตรเครดิตมากดเงินสดเพื่อชำระหนี้ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นโดยอาจจจะไม่ทราบ การรวมหนี้บัตรเครดิต จึงเป็นหนึ่งในวิธีการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อช่วยลดภาระให้กับลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดี ทำให้มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น ชำระหนี้ได้ง่ายขึ้น ซี่งจะเป็นการรวมหนี้ของสินเชื่อบ้าน คิดดอกเบี้ยไม่เพิ่มขึ้นจากเดิม เพื่อช่วยลดภาระดอกเบี้ยและการผ่อนค่างวดให้แก่ลูกหนี้ในระยะยาวได้ เช่น การรวมหนี้ภายในสถาบันการเงินเดียวกัน หรือการรวมหนี้ระหว่างสถาบัน โดยลูกหนี้สามารถเริ่มดำเนินการและเตรียมตัวได้ดังนี้ สรุปและจัดเรียงลำดับ ยอดหนี้บัตรเครดิตทั้งหมด ตามอัตราดอกเบี้ยจากสูงสุดไปต่ำสุด สถาบันการเงิน/เจ้าหนี้ อัตราดอกเบี้ย ยอดที่ค้างชำระ วันที่ชำระ ยอดที่ต้องชำระขั้นต่ำในแต่ละเดือน โดยสรุปทั้งหมดเป็นตารางที่ง่ายต่อการคำนวณ การจดจำและ การเจรจากับเจ้าหนี้ ค้นหาและเปรียบเทียบ สถาบันการเงินที่เหมาะสมกับความต้องการของเรา โดยเลือกสถาบันการเงินที่มีสินเชื่อรวมยอดหนี้ที่ดอกเบี้ยไม่แพง ระยะเวลาผ่อนนาน เงื่อนไขของแต่ละสถาบันการเงิน ค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการไม่สูงมากนัก เพื่อให้ได้ข้อเสนอเหมาะสมและ ดีที่สุดเกับเรา
การชําระหนื้ที่ดีแบบถูกกฎหมาย
การดำเนินชีวิตในแต่ละวัน ควรมีการวางแผนการเงิน และบริหารจัดการหนี้ให้เหมาะสม เพื่อลดการก่อหนี้เพิ่ม ซึ่งถ้าหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เกิดโรคร้าย เกิดภัยธรรมชาติ ทำให้สภาพคล่องทางการเงินเริ่มจัดการไม่ดีพอ จนกลายเป็นหนี้ “หนี้” คือ ความผูกพันทางกฎหมาย ระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายเจ้าหนี้ และ ฝ่ายลูกหนี้ โดยเจ้าหนี้ มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชําระหนี้ได้ และฝ่ายลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชําระหนี้ให้แก่ เจ้าหนี้ เช่น การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท ขึ้นไป มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือและ ต้องลงลายมือชื่อผู้กู้สามารถฟ้องร้องบังคับกันได้ โดยลูกหนี้ควรมีการชำระหนี้ให้ตรงตามสัญญา และตรงเวลา เพื่อเพิ่มโอกาสทางการเงินที่ดี เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิในการติดตามทวงถาม การฟ้องหรือดำเนินคดีตามกฎหมายได้ โดยเราแนะนำวิธีในการชำระหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย แบบ 3 เต็ม 4