4 สาเหตุที่ควรลงทุน
การลงทุนอาจฟังดูเป็นเรื่องที่ไกลตัวสำหรับใครหลายๆคน หรือเหมาะสำหรับคนที่รวยแล้วเท่านั้น แต่จริงๆแล้วการลงทุนสามารถเริ่มจากเงินจำนวนน้อยๆได้ และในบทความนี้จะมาบอกถึง 3 ข้อดีว่าทำไมถึงควรลงทุน
- ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นจากเงินเฟ้อทุกปี
เงินเฟ้อเป็นสิ่งที่ได้ยินมาตั้งแต่เด็กจนโต ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายคือเมื่อ 20 ปีที่แล้วราคาอาหารจานละ 10-20 บาท แต่ในราคาเพิ่มขึ้นเป็น 60-70 บาท ในปริมาณของอาหารที่เท่าเดิมหรืออาจน้อยลง นั่นคือมูลค่าของเงินที่เมื่อเวลาผ่านไปจะมีมูลค่าลดลง ทำให้เงินเท่าเดิมแต่ซื้อของได้น้อยลง ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้หนทางที่จะทำให้มูลค่าเงินในปัจจุบันเทียบเท่าหรือสูงกว่าเงินในอนาคตก็คือการลงทุนนั่นเอง
- รายได้เพิ่มไม่ทันราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น
ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทำให้ราคาสินค้า และบริการเพิ่มขึ้น แต่เงินเดือนหรือรายได้เราอาจไม่ได้เพิ่มขึ้นไปด้วย หรืออาจเพิ่มขึ้นแต่ก็ยังเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่าราคาสินค้าอยูดี นี่จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่เราควรลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่าของเงิน
- ดอกเบี้ยเงินฝากต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ
การฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่อย่างที่ทราบกันว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากนั้นมีอัตราที่ต่ำมาก จึงไม่แนะนำหากจะเก็บเงินไว้ในบัญชีเงินฝากที่เดียว ควรกระจายการลงทุนไปในผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ สามารถฝากเงินส่วนหนึ่งไว้ในออมทรัพย์ได้ และแบ่งสัดส่วนของเงินมาลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆด้วย ซึ่งในปัจจุบันนั้นมีทางเลือกในการลงทุนมากมาย เช่น ตราสารหนี้ กองทุน หุ้น และอื่นๆ
4.การลงทุนทำให้เป็นอิสระภาพทางการเงินเร็วขึ้น
การลงทุนทำให้เราบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้เร็วขึ้น ยกตัวอย่างการวางแผนเกษียณ เช่น เราต้องมีเงินจำนวน 5,000,000 บาท ณ วันที่เกษียณ ซึ่งเป็นเงินจำนวนไม่น้อยเลยถ้าอยากเกษียณอย่างมีความสุขโดยไม่เป็นภาระของลูกหลาน ซึ่งในบ้างครั้งการที่เราจะเก็บเงินให้ถึงตามเป้าหมายนี้อาจจะเป็นเรื่องยาก แต่หากเราเอาเงินไปลงทุนและใช้พลังจากดอกเบี้ยและระยะเวลาในการลงทุนเงินจำนวนเท่านี้ก็ไม่ใช่เรื่องยาก
เห็นได้ว่าการลงทุนนั้นมีประโยชน์ไม่น้อย ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ในด้านการเพิ่มอัตราผลตอบแทนให้สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อแล้ว การลงทุนบางประเภทยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย แต่อย่างที่ทราบกันดีว่าการลงทุนนั้นมีความเสี่ยง ดังนั้นควรศึกษาและเลือกลงทุนให้เหมาะสมกับตัวเอง
ที่มา: https://www.poems.in.th/learning_detail.aspx?id=275