โพสต์หรือแชร์ แบบถูกวิธีที่ควรรู้
ปัจจุบันในโลกโซเชียลสามารถเข้าถึงทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งก่อนที่เราโพสต์หรือแชร์ควรทราบข้อกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนแบบงานของผู้อื่น โดยผู้โพสต์หรือผู้แชร์หรือผู้ดาวน์โหลด เพื่อลดการถูกฟ้อง การปั่นป่วนในโลกโซเชียล ที่ถูกต้องตามกฎหมาย และมั่นใจในข้อมูลนั้นเป็นความจริง
- งานสร้างสรรค์ เช่น บทความ หนังสือชอฟต์แวร์ เพลง รูปภาพ ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพข่าวภาพยนตร์ ละคร ข่าวประจำวันทั่วไป โดยข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่รายงานเพียงแค่แจ้งว่า ใคร ทำอะไรที่ไหน อย่างไร เมื่อไหร่ ไม่เข้าข่ายงานอันมีลิขสิทธิ์ เราจึงสามารถเอามาใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต แต่ถ้าหากได้มีการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นไปแล้ว ควรรีบดำเนินการติดต่อกับผู้ที่เราละเมิดเพื่อหาทางเจรจา ผ่อนหนักเป็นเบา และลบสิ่งที่โพสต์ให้เร็วที่สุดเพื่อลดการขยายเป็นวงกว้าง นอกจากนี้ การโพสต์ข้อความที่ทำให้ผู้อื่นเสียหายหรือเสื่อมเสีย แม้จะไม่ระบุชื่อคนที่ถูกพาดพิง แต่มีการสื่อให้ทราบว่าหมายถึงใคร ซึ่งปัจจุบันสามารถเอาผิดได้ จึงต้องคิดเสมอก่อนโพสต์ ให้ดีทุกครั้ง
- งานภาพยนตร์หรือเพลงจากอินเทอร์เน็ต การดาวน์โหลดมาฟังและแชร์ต่อให้เพื่อน ถือเป็นการทำซ้ำที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ บางเว็บไซต์อนุญาตให้ดาวน์โหลดได้ฟรีก็สามารถดาวน์โหลดได้ แต่ไม่สามารถแชร์ต่อได้ ส่วนเว็บไซต์ที่เก็บค่าใช้จ่ายในการดาวน์โหลด เพื่อรับชมหรือรับฟังได้ แต่ไม่สามารถแชร์ต่อได้ ยกเว้นการนำคลิปเพลงมาเผยแพร่ในลักษณะก๊อบปี้ลิงก์ หรือการฝังโค้ดคลิปวิดีโอของยูทูปจากเจ้าของลิขสิทธิ์มาไว้ แชร์ในเว็บไซต์หรือเฟซบุ๊กของตัวเอง ซึ่งไม่ผิดและไม่เข้าข่ายละเมิดลิขสิทธ์
- งานบทความหรือรูปภาพจากเว็บไซต์ การแชร์ต่อถ้านำมาใช้ในปริมาณน้อย ไม่ได้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ และไม่ได้เป็นการใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้าหรือหากำไร โดยมีการเครดิตจากเว็บไซต์ที่เข้าถึงได้ โดยต้องระบุให้ชัดเจนว่าเข้าถึงจากเว็บใดวันเวลาใด แสดงที่มาของบทความหรือรูปภาพ ก็อาจถือว่าเป็นการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
-
- ตรวจสอบที่มาของแหล่งข่าวเป็นเพียงแหล่งข่าวเดียว มีแนวโน้มว่าเป็นข่าวปลอม หรือตรวจสอบอายุของแหล่งข่าว อายุการลงทะเบียนข่าวนั้นนาน มีความน่าเชื่อถือมาก หรือตรวจสอบการสะกดของ URL อย่างละเอียดรอบคอบทุกตัวอักษร
- ตรวจสอบภาพโดยระบุคำที่ต้องการตรวจลง google ภาพนั้นขึ้นมา หรือตรวจสอบข่าวที่เว็บไซต์ ตรวจสอบข่าวผ่านเว็ปไซต์ antifakenewscenter แล้วค้นหา ทราบข่าวจริงหรือข่าวปลอม
ที่มา : บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://emagazine.ipst.ac.th/ : วันที่สืบค้น 5 ตุลาคม 2566
ข่าวประชาสัมพันธ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ หัวเรื่อง และคำสำคัญกรมทรัพย์สินทางปัญญา, กฎหมายลิขสิทธิ์
https://www.ipthailand.go.th/th/copyright.html : วันที่สืบค้น 5 ตุลาคม 2566 จาก
https://www.kaohoon.com/breakingnews/34729 : วันที่สืบค้น 10 ตุลาคม 2566
REAL or FAKE? ข่าวปลอมออนไลน์ สังเกตอย่างไร เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3gO2e4O : วันที่สืบค้น 10 ตุลาคม 2566
https://www.it24hrs.com/ วันที่สืบค้น 10 ตุลาคม 2566
5 วิธีตรวจสอบข่าวปลอม Fake News | DGTHh. YouTube, https://www.youtube.com/watch?v=p-PtKBqXKZI : วันที่สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2566
https://www.educathai.com/knowledge/articles/494 : วันที่สืบค้น 10 ตุลาคม 2566