การบริหารจัดการหนี้ก้อนเล็กๆก่อนกลายเป็น หนี้ก้อนใหญ่ๆ
ต้องทราบว่ากำลังจะเป็นหนี้ การรู้ตัวเองว่ากำลังจะเป็นหนี้ โดยอาจจะเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิต ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดหนี้และมีสำคัญมากๆ ทุกครั้งที่กำลังจะยืมเงินใคร ก็ต้องรู้สำรวจความสามารถในการคืนเงินหรือชำระเงิน และทำการไตร่ตรองให้ดีว่า คุณมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด ทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของสินเชื่อแต่ละประเภท เมื่อหาวิธีการหาเงินหลายทางแล้วแต่ก็ไม่พอ จนในที่สุดก็ตัดสินใจจะใช้บริการสินเชื่อไม่ว่าจะของธนาคารใดหรือสถาบันการเงินใดก็ตาม ทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของสินเชื่อแต่ละประเภทและของแต่ละธนาคาร เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องศึกษาและหาสินเชื่อที่เหมาะสมที่สุดที่จะช่วยให้การจ่ายดอกเบี้ยน้อยลง และหมดภาระหนี้ได้เร็วขึ้น การประเมินความสามารถในการคืนหนี้ เมื่อเลือกได้แล้วว่าจะเลือกสินเชื่อประเภทใดแล้ว และมีความจำเป็นต้องเป็นหนี้ใครแล้ว หรือต้องเป็นหนี้ธนาคารหรือสถาบันการเงินใดแล้ว(ตรวจสอบดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุด) และเปรียบเทียบจำนวนเงินที่ต้องชำระคืน และเข้าใจด้วยว่าต้องเข้าใจว่าการกู้เงินประเภทไหน ที่จะช่วยให้คุณเสียดอกเบี้ยน้อยสุด และต้องเป็นการปลดหนี้ได้เร็วสุด จัดการเป็นหนี้อย่างไรให้มีวินัย เมื่อเป็นหนี้สำเร็จแล้ว ก็ควรมีวินัยในการชำระหนี้เช่นกัน และควรจะชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ไม่ว่ากับบุคคลหรือกับสถาบันการเงิน โดยจะต้องชำระตามกำหนดเพราะการชำระหนี้ล่าช้า ก็จะทำให้มีการเสียค่าปรับ รวมถึงการคำนวณดอกเบี้ยของความล่าช้านั้นด้วย มีเงินก้อนก็โปะได้ อย่ารอให้หนี้เพิ่มพูน วิธีที่จะสามารถช่วยให้หมดหนี้เร็ว คือการโปะ หรือการนำเงินมาชำระหนี้ล่วงหน้า แต่ก่อนที่จะทำการโปะลองศึกษาก่อนว่า หนี้ที่มีนั้นถูกคิดดอกเบี้ยในแบบไหน แบบดอกเบี้ยลดต้นลดดอกหรือเป็นดอกเบี้ยแบบคงที่ หากเป็นแบบดอกเบี้ยลดต้นลดดอกโดยการชำระแบบโปะ แต่หากการกู้เป็นแบบดอกเบี้ยคงที่ ก็ไม่จำเป็นต้องโปะ ///-////---
ปฎิกิริยาของคุณโต้ตอบได้อย่างรวดเร็วอย่างไรเมื่อเห็นป้ายสีแดง ที่แปะคำว่า 50%
คุณจะเดินไปซื้อสินค้านั้นทันทีโดยไม่ลังเล ? คิดไหมว่าสิ่งนั้นจำเป็น หรือ อยากได้ ? แล้วคุณคิดว่าจะจ่ายค่าสินค้าโดยวิธีใด เงินสดหรือบัตรเครดิต ? คุณซื้อมาได้ใช้มันจริงๆหรือเปล่า ? ///-////---
สูตรสำเร็จ 12 ประการ มีรายได้เพิ่ม
ตั้งเป้าหมายในการทำงานหรือผลประกอบการให้ชัดเจน สร้างความรู้สึกด้านบวกในการทำงาน รักษาระเบียบวินัยและมีความซื่อสัตย์ในการทำงาน รู้จักพัฒนาตนเองและมีเทคนิคการทำงานอยู่เสมอ รู้จักการสร้างเครือข่ายและมิตรสัมพันธ์ที่ดี รู้จักการออมเงิน เพราะเงินถือเป็นสิ่งสำคัญในการทำงาน ขายสิ่งของที่คุณไม่ใช้แล้ว หางานพิเศษทำเพื่อเพิ่มรายได้ พัฒนาและขายทักษะของคุณ คำนวณค่าใช้จ่ายในการเช่าบ้าน จัดการกับระบบภาษีของตัวเองให้มีประสิทธิภาพ หาเงินเพิ่มจากสิ่งที่คุณทำอยู่แล้ว ///-////---
ขอ 3 พยางค์ คาถาประจำใจของคนเป็นหนี้
“เป็นหนี้ช้า” เป็นหนี้ให้ช้าลง “เวลาสั้น” ลดระยะเวลาให้สั้นลง “เสียดอกน้อย” โปะเพิ่มจ่ายดอกน้อยลง แล้วคุณ ละมี คาถาประจำใจแล้วหรือยัง ? ///-////---
ของนอกกายไม่ตายก็หาใหม่ได้
เมื่อรายได้ไม่พอรายจ่ายการขายทรัพย์สินไม่ใช่เรื่องน่าอาย เมื่อเสียทรัพย์สินไปก็ไม่แย่เพราะชีวิตและครอบครัวยังคงอยู่ เมื่อชีวิตยังมีอยู่ก็มีแรงไปสู้ต่อปัญหาหนี้ เมื่อปลดหนี้ได้ก็เริ่มต้นสร้างทรัพย์สินใหม่ได้ ///-////---
โปะ อย่างไร ให้หนี้หมดเร็ว มีเงินก้อนก็โปะได้ อย่ารอให้หนี้เพิ่มพูน
วิธีที่จะสามารถช่วยให้หมดหนี้เร็วหรือชำระดอกเบี้ยน้อย คือการโปะ ดอกเบี้ยมี 2 ประเภท ดอกเบี้ยคงที่ หรือ ดอกเบี้ยลดต้นลดดอก ดอกเบี้ยคงที่ ไม่จำเป็นต้องโปะ เช่น รถยนต์ เพราะดอกเบี้ยถูกคำนวณให้ต้องจ่ายเฉลี่ยออกมาเป็นการชำระรายงวด ทำให้การนำเงินก้อนมาชำระเต็มจึงอาจไม่เกิดผลเรื่องดอกเบี้ยลดลง เพียงแต่ทำให้หนี้สินหมดเร็วขึ้น ดอกเบี้ยลดต้นลดดอก ควรรีบโปะ เช่น สินเชื่อบ้าน บัตรกดเงินสด บัตรเครดิต โดยการชำระแบบโปะ จะช่วยลดทั้งเงินต้น และลดดอกเบี้ยของจำนวนเงินที่เหลือค้างไว้ ///-////---
ดอกเบี้ยบัตรเครดิต นั้นจอมโหด ดูดเงินจนหมดตัว เพราะดอกเบี้ย 18 % ต่อปี
ดอกเบี้ยบัตรเครดิต นั้นจอมโหด ดูดเงินจนหมดตัว เพราะดอกเบี้ย 18 % ต่อปี
วัฎจักรชีวิตทางการเงิน
เรื่องความมั่นคงทางการเงินของคนไทยจะเกิดขึ้นได้ต้องปลูกฝัง ดังนั้นเราต้องเรียนรู้วินัย ทางการเงินในทุกช่วงวัย เพื่อเสริมสร้างวินัยทางการเงิน วัยเด็ก - บ่มเพาะนิสัยใช้จ่ายเงิน รู้จักคุณค่าของเงิน เริ่มต้นเก็บออม ช่วงวัยเด็ก เป็นวัยแห่งการเริ่มต้นศึกษาหาความรู้ จึงเป็นวัยที่เหมาะสมกับการบ่มเพาะนิสัยใช้ จ่ายเงิน สอนให้รู้จักคุณค่าของเงิน สอนให้เริ่มต้นเก็บออม และเริ่มต้นศึกษาวิธีการต่อยอดด้วยการ ลงทุน วัยทำงาน - ออม 1 ใน 4 และภาระหนี้ไม่เกิน 1 ใน 3 ของรายได้ ช่วงวัยทำงานควรออม 3–6 เท่าของรายจ่ายจำเป็นต่อเดือน เป็นช่วงเวลาแห่งการหารายได้ ดังนั้นในช่วงต้นของการทำงานควรออมเงิน 1 ใน 4 ของรายได้ และวางแผนเกษียณตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำงาน เมื่อมีความจำเป็นที่ต้องสร้างภาระหนี้ ควรมีภาระผ่อนหนี้ไม่เกิน 1 ใน 3 ของรายได้
อาการหนี้ขั้นวิกฤต คุณเป็นครบหรือยัง ?
1.จ่ายหนี้มากกว่า 45% ของรายได้ - ควักเงินจ่ายหนี้มากกว่า 45 % ของรายได้ โดยที่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายประจำอื่น ๆ ที่เป็นรายจ่ายคงที่ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ยกตัวอย่างง่าย ๆ มีเงิน 100 บาท จ่ายหนี้ 45 บาท เมื่อหักลบค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ คงไม่เหลือเงินค่ากินให้พอครบเดือน 2. กดบัตรโน้นโปะบัตรนี้ หนี้พอกพูน - สร้างหนี้ใหม่มาใช้หนี้เก่าวนเวียนไม่จบแถมดอกเบี้ยเพิ่มพูนไม่หยุด คนส่วนใหญ่ไม่คิดถึงวิธีการเพิ่มรายได้ แต่จะคิดถึงการ “กู้หนี้เพิ่ม” เช่น หยิบยืมเงินจากญาติหรือคนรู้จักมาใช้หนี้ กู้ธนาคาร หรือร้ายแรงที่สุด คือการกู้เงินนอกระบบที่ดอกเบี้ยแสนโหดสุด ๆ 3.หวาดผวาเสียงโทรศัพท์
ปก-ข้อดี “บัตรเครดิต” มีไว้..ใช้เป็น คือ ดี
ดีสุด ! บุคลิกไม่เสีย ไม่ต้องพกเงินเยอะ ๆ ให้กระเป๋าตุงข้อดีเรื่องแรก คือ บัตรเครดิตทำให้เราไม่ต้องพกเงินเยอะ ๆ ติดตัว ไม่ต้องเสี่ยงเงินหายหรือโดนฉก ชิงวิ่งราว พกเพียงบัตรเครดิตใบเดียว ไม่ต้องกังวลว่าเงินไม่พอจ่าย ถ้าไปเที่ยวหรือติดต่อธุรกิจที่ ต่างประเทศไม่ต้องแลกเงินสดในสกุลเงินของประเทศนั้น ๆ เจ๋งสุด ! มีระยะปลอดดอกเบี้ย 45 วัน และรูดซื้อสินค้า 0%ข้อดีเรื่องสอง คือ สามารถรูดบัตรเครดิตเพื่อชำระสินค้าหรือบริการไปก่อนได้ โดยมีระยะเวลา ปลอดดอกเบี้ย 45 วัน เมื่อถึงกำหนดชำระเมื่อจ่ายเงินครบก็ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย รวมทั้งบัตรเครดิต มีโปรโมชั่นผ่อน 0% หากตั้งใจซื้อสินค้าชิ้นนั้นอยู่แล้วก็จะทำให้เราไม่ต้องจ่ายเงินก่อนเพื่อชำระค่าสินค้าในครั้งเดียว สะดวกสุด! บิลค่าน้ำ ค่าไฟ ชำระง่าย